วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิทย์

บันทึกครั้งที่5
วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


นำเสนอผลงาน  "ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"








หนูกระดื๊บกระดื๊


อุปกรณ์

1. กระดาษสี   2. กรรไกร   3. กาว   4. ปากกาเมจิก
วิธีประดิษฐ์
1.          1.   ตัดกระดาษสีเป็นรูปครึ่งวงกลม ตัดส่วนที่แรเงาออก



 2. พับกระดาษตามรอยปะโค้งกระดาษเป็นรูปทรงกรวย  ทากาวที่ปลายขอบกระดาษแล้วติดบนกระดาษด้านล่าง



 3. ตัดกระดาษเป็นรูป ตา หู และหาง ตามต้องการ



 4. ติด ตา หู และหาง ที่ตัดไว้ใช้ปากกาเมจิกตกแต่ง  จมูก และปาก ตามความต้องการ




วิธีเล่น
วาง “ หนูกระดื๊บกระดื๊บ ” ไว้บนพื้นและเป่าฟู่ๆ! หนูจะกระดื๊บ กระดื๊บไปตามแรงเป่า


แมววิ่งแข่ง

อุปกรณ์

1. กระดาษขาวชนิดบางหรือกระดาษสา  2. เปลือกหอยขาดเล็ก 4 อัน หรือกระดาษแข็งพับเป็นกล่องขนาดเล็ก

3. พัด

วิธีทำ
1.             ตัดกระดาษสาตามแบบกล่อง  
พับเป็นกล่องโดยทุกด้านต้องติดกันสนิทไม่มีรู( ทำเป็นตัวแมว )



2.ติดกระดาษแข็งบนกระดาษที่ตัดเป็นเส้นไว้      


3.  ติดขาทั้งสี่ไว้ด้านในของกล่อง


4.ใช้กระดาษส่วนที่เหลือทำส่วนหัวและจมูกของแมว


5.ตกเเต่ง ติดหน้าและหางที่ตัวแมว




 วิธีเล่
      เอาแมวกระดาษที่ทำเสร็จแล้วไปวางที่มุมห้องหรือฉากกั้นห้องแล้วใช้พัดพัดลมใส่มุมห้องหรือฉากกั้นนั้นแมวจะกระโดดขึ้นลงและวิ่งไปข้างหน้า

*หลักการและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์*
เมื่อแรงลมมากระทบกับวัตถุทำให้วัตถุเคลื่อนที่



วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 4
วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

- อาจารย์ถามนักศึกษาว่า นักศึกษาเคยดูหนังหรือไม่?  ได้อะไรจากการดูหนัง? 
    ตอบ  - ได้ความตื่นเต้น  - รู้สึกเศร้า 
             -  ความสนุก          - ข้อที่สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต

- อาจารย์เปิด VDO  เรื่อง  " มหัศจรรย์ขิงนำ้" โดยใช้ตุ๊กตาหมีในการเเสดง 
    ความรู้ที่ได้รับ     - อากาศร้อน เหงื่อก็จะออกมาทางผิวหนังทำให้อ่อนเพลีย ถ้าดื่มนำ้ก็จะชดเชยได้
                               - บนโลกของเรามีนำ้ 90 เปอร์เซ็น
                               - ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย

- การเกิดฝน


กลไกการเกิดฝน  
         การเกิดฝนเป็นขั้นตอนหนึ่งของ วัฏจักรนํ้า (Water cycle) ดังแสดงในรูปที่ 1 เป็นที่
ทราบกันโดยท่ัั่วไปวานํ้าเมื่อได้รับความร้อนก็จะระเหยเปลี่ยนสถานะภาพเป็นนก๊าซที่เรียกว่า
ไอนํ้า ลอยขึ้นสูงบรรยากาศ เมื่อไอนํ้ากระทบกับความเย็นก็จะควบแน่นจับตัวเป็นก้อนเมฆ
และเมื่ออนุภาค ของไอนํ้าจับตัวจนมีขนาดต่างๆ กันในก้อนเมฆ เมื่อมีขนาดใหญ่จนไม่
สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ก็จะตกมาเป็นฝน 






การเปลี่ยนเเปลงสถานะของน้ำ
         วัฏจักรของน้ำ (water cycle) หรือชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า วัฏจักรของอุทกวิทยา (hydrologic cycle) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่าง ของเหลว ของแข็ง และ ก๊าซ ในวัฏจักรของน้ำนี้ น้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะไปกลับ จากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสิ้นสุด ภายในอาณาจักรของน้ำ (hydrosphere) เช่น การเปลี่ยนแปลงระหว่าง ชั้นบรรยากาศ น้ำพื้นผิวดิน ผิวน้ำ น้ำใต้ดิน และ พืช
          
การระเหย
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นก๊าซ โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆได้รับพลังงานหรือความร้อน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนสถานะเป็น ไอน้ำ
การควบแน่น
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากก๊าซ กลายเป็นของเหลว โดยมักเกิดเมื่อก๊าซนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ ไอน้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำ
การระเหิด
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของแข็ง กลายเป็นก๊าซ โดยไม่ผ่านสถานะการเป็นของเหลว ได้แก่ น้ำแข็งแห้ง เปลี่ยนสถานะเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การตกผลึก
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง แต่โดยทั่วไปแล้ว ตกผลึกนั้นนิยมใช้ กับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทางทางเคมี เสียมากกว่า เพราะโดยทั่วไปใช้กับสารประกอบหรือวัตถุ ที่ไม่สามารถหลอมเหลว หรือ ละลาย กลับเป็น

การแข็งตัว

       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง โดยของแข็งนั้น สามารถเปลี่ยนสถานะกลับเป็นของเหลวได้ โดยการได้รับพลังงานหรือความร้อน

การหลอมเหลว หรือการละลาย
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของแข็ง กลายเป็นของเหลว โดยมักเกิดเมื่อของแข็งนั้นๆ ได้รับความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำแข็ง เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำ



งานที่สั่ง

         1. เมื่อได้หน่วยการเรียนรู้จากโรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม  แล้วให้ทำเป็น 

Mind Map  ว่าเราจะสอนอะไร   สิ่งที่จะต้องมีคือ  ภาพ  การทดลอง  และยกตัวอย่าง (งานกลุ่ม)
         2. ทำสื่อวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถเล่นเองได้ในมุมประสบการณ์ (จับคู่ 2 คน)

- อุปกรณ์จะต้องเป็นเศษวัสดุเหลือใช้  - ถ่ายรูปเป็นขั้นตอน
          3. หาวิธีการทำของเล่นวิทยาศาสตร์มา 1 อย่าง   เพื่อที่จะนำมาสอนเด็ก (จับคู่ 2 คน)









วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่่ 3
วันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2555

- อาจารย์ทบทวนเรื่องที่ได้เรียนไปเมื่อสัปดาห์ที่เเล้ว
- พัฒนาการเป็นการเจริญเติบโตเป็นลำดับขั้น



ส่งงานกลุ่ม   เรื่อง  " ไข่ "




หมายเหตุ : อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คนร่วมกันทำเเผนการสอนเรื่องพัฒนาการสติปัญญาเพื่อไปสอนเด็กปฐมวัย