วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่18
วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

อาจาร์ยให้แสดงความคิดเห็น เรื่อง
1. การใช้ Tablet ในระดับปฐมศึกษา
2. การใช้ Tablet ในระดับปฐมวัย
ข้อดี
- ได้ทัษะการอ่าน เช่น ภาษาอังกฤษ
-  มีเนื้อหามากมายให้เลือกเรียนรู้
-  อยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็เกิดการเรียนรู้ได้
ข้อจำกัด
-  ขึ้นอยู่กับการบริหารการจัดการของครู
-  ไม่สามารถเเทนครูได้ทั้งหมด
-  ต้องรู้จังหวะในการใช้ให้เหมาะสม

ข้อคิดที่ได้
- ครูอนุบาลควรที่จะรู้เทคโนโลยี เเละอยู่กับเทคโนโลยีให้ได้
- ครูอนุบาลต้องรอบรู้ข่าวสารให้ทันกับโลกปัจจุบัน
- ครูอนุบาลต้องนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการเรียนการสอนให้เหมาะสม

บันทึกครั้งที่่17
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555 

จัดกิจกรรมโรงเรียนสาธิตจันทรเกษม
สามาชิกในกลุ่ม
1. นางสาวนฤมล เเตงงาม
2. นางสาวปนัดดา สุกระรงคะ
3. นางสาวฟิระดาว ทุ่ยอ้น
4. นางสาวอภิญญา เเซ่เห้ง




กิจรรมทั้งหมด









บันทึกครั้งที่ 16 
วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555
  - ส่งกิจกรรมที่จะทำไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียนสาธิตราชภัฎจันทรเกษมต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว
  - อาจารย์ชี้แจงการไปทำกิจกรรม
จัดเตรียมอะไรบ้าง
 - การจัดสถานที่
 - การซื้ออุปกรณ์
 - การจัดทำป้ายชื่อของเด็กอนุบาล
 - ในการเข้าฐานใช้เวลา 10 - 15 นาที 
อาจารย์พูดถึงสิ่งที่ต้องมีใน Blogger
 สิ่งที่ต้องมีดังนิ้
 - ดูโทรทัศน์ครู
 - สมาชิกต้องครบ
 - มีลิงค์แห่งข้อมูลใหม่ๆ 
 - ข้อมูลการเข้าเรียน
 - ถ่ายรูปกิจกรรม 
 - ลงขั้นตอนการทำกิจกรรมต่างๆ
สิ่งที่อาจารย์ทบทวน

-ทักษะทางวิทยาศาสตร์


บันทึกครั้งที่15
วันอังคารที่  4   กันยายนพ.ศ. 2555

ส่งบอร์ดที่แต่ละกลุ่มได้จัดทำ(กลุ่ม3คน)
          ข้อที่ควรปรับปรุงในการจัดบอร์ด
- ควรเว้นพื้นที่ในการวางเนื้อหาให้มากกว้างขึ้น
- ควรทำดอกไม้ให้เป็นรูปเเบบเดียวกัน


ส่งงานกลุ่มการทดลอง เรื่องหลอดดูดมหัศจรรย์



 ชื่อกิจกรรม     หลอดดูดมหัศจรรย์
 แนวคิด            เมื่อดูดอากาศออกจากโหล อากาศจะถูกดึงเข้าไปแทนที่อีกหลอดที่มีลูกโป่งอยู่

 วัสดุ อุปกรณ์   -หลอดดูด   -ลูกโป่ง    -ดินน้ำมัน    -หนังยาง    -ขวดโหลที่มีฝาปิด

วิธีทดลอง

                 1.นำฝาขวดโหลที่เตรียมไว้มาเจาะรู 2รูให้มีขนาดที่สามารถใส่หลอดเข้าไปได้

                 2.นำหลอดดูดมาใส่ในรูทั้ง2ที่เจาะไว้

                 3.ใช้ดินน้ำมันอุดบริเวณรูที่เจาะไว้ให้รอบเพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปในขวดโหลได้

                 4.นำลูกโป่งมาเสียบไว้กับหลอดดูด 1 หลอดแล้วใช้หนังยางมัดไว้ แต่ไม่ต้องมัดแน่น                                                                                                        เกินไป แล้วปิดฝาขวดโหลให้แน่น

                 5.ให้ดูดหลอดฝั่งที่ไม่มีลูกโป่งอยู่ จากนั้นสังเกตผลการทดลอง จะเห็นว่าลูกโป่งจะค่อยๆพองขึ้น
            สรุป 
       สาเหตุที่ลูกโป่งพองขึ้นได้เมื่อเราดูดหลอดนั้นเป็นเพราะ เมื่อเราดูดอากาศที่อยู่ในขวด อากาศภายในก็จะลดลง ทำให้แรงดันอากาศภายนอก สามารถดันเข้าไปในหลอดที่มีลูกโป่งอยู่ได้จึงทำให้ลูกโป่งพองขึ้น

การนำมาประยุกต์ใช้
        การสร้างบ้านสมัยก่อน  จะเลียนแบบนำวิธีการดังกล่าว มาทำเป็นช่องลมในการสร้างบ้าน

งานที่ได้รับมอบหมาย
มอบหมายให้เเต่ละกลุ่มคิดกิจกรรมโดยมีหัวข้อดังนี้

เสียง – ลูกโป่ง,การเดินทางของเสียง,ระดับน้ำมีผลต่อระดับเสียง
การเปลี่ยนแปลง  ปิ้ง/ย่าง ,นึ่ง/ต้ม ,ทอด
แม่เหล็ก – ขั้วต่างดูด/ขั้วเหมือนผลัด ,ของเล่น ,ของเล่น
กลุ่มของดิฉัน กิจกรรมเรื่อง  การเดินทางของเสียง
                              
 - คิดชื่อกิจกรรม   - แนวคิด -  วัสดุอุปกรณ์ 
 - วิธีทดลอง - ตั้งคำถาม - สรุป
ให้เเต่ละกลุ่มไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียนสาธิตวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ส่งสมุดเล่มเล็ก ขั้นตอนการพับดอกไม้


บันทึกครั้งที่14
วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ไม่มีการเรียนการเรียนการสอน( อาจาร์ยให้จัดบอร์ดกลุ่มละ  3คน )






บันทึกครั้งที่13
วันอาทิตย์ที่ 26  สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ที่ได้รับ
- การทำดอกไม้ต้องคำนึงองค์ประกอบต่างๆเเละการจัดวางเนื้อ
- ควรมีการผสมผสานของสีเพื่อให้มีมิติ

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่12
 วันเสาร์ที่25สิงหาคมพ.ศ.2555 

เข้าอบรมการประดิษฐ์ดอกไม้หรืออุปกรณ์ตกเเต่งบอรด์ 
ความรู้ทีได้รับ
 - ควรคำนึงถึงการจัดวางตำเเหน่งของบอรด์
 - ควรทำาดอกไม้ให้มีมิติ


วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 21  สิงหาคม  พ.ศ. 2555


 ความรู้ที่ได้รับ

           -  มีการสรุปหน่วยการเรียนรู้จากหนังสือที่อาจารย์นำมาเป็น Mind Map 




งานที่ได้รับมอบหมาย

           -  อาจารย์ให้จับกลุ่ม 4  คน  ทำการทดลองวิทยาศาสตร์มา 1  เรื่อง



บันทึกครั้งที่10
วันอังคารที่14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ม่มีการเรียนการเรียนการสอน
 ( อาจารย์มีการจัดการเรียนชดเชยในวันอาทิตย์  ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555)

บันทึกครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน
(อาจารย์นัดชดเชยในวันเสาร์ ที่ 25 สิงหาคม 2555)

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

 บันทึกครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคมพ.ศ. 2555


ไม่มีการเรียนสอน เนื่องจากมีการสอบกลางภาค

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555


บันทึกครั้งที่ 7

วันอังคารที่  24  เดือน กรกฎาคม  พ.ศ.  2555


อาจารย์พูดเรื่องไปศึกษาดูงานนอกสถานที(เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์)

สถานที่

-ไบเทคบางนา
-ท้องฟ้าจำลอง
-พิพิธภัณฑ์
  -วิทยาศาสตร์
  -หุ่นขี้ผึ้ง
  -เด็ก
  -โอเชี่ยล
  -บึงฉวาง

ประโยชน์

1.ได้ประสบกาณ์ตรง
 2.กิดความสนุกสนาน
 3. ได้ความรู้
 4. เกิดการใฝ่รู้
       - เกิดความสงสัย
       - เกิดคำถาม
       - เกิดความอยากรู้อยากเห็น

บันทึกครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ที่ได้รับ

     
-  นักศึกษาพูดถึงการเล่น  ว่าการเล่นเป็นเครื่องมือทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
-  การฝึกให้เด็กทำสิ่งต่างๆ  เป็นการทำให้เด็กเรียนรู้การทำงานเป็นขั้นตอน ได้ปฏิบัตจริง      -  การที่ทำของเล่นขึ้นมา  แต่ละชิ้นเพื่อต้องการให้เด็กเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์
-  สิ่งที่เราจะไปทำกับเด็กให้เด็กเล่นนั้น  มันได้สะท้อนอะไรในความเป็นวิทยาศาสตร์
-  การทบทวนเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานว่ามีอะไรบ้าง

กิจกรรมในห้องเรียน

    ห้นักศึกษาในห้องแบ่งกลุ่ม  และช่วยกันทำ Mind Map  ว่าเราจะสอนเรื่องอะไร
ในแต่ละช่วงชั้น  อนุบาล 1  อนุบาล 2  และอนุบาล 3


หมายเหตุ   กลุ่มของดิฉันเรื่องภูมิใจในความเป็นไทย

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิทย์

บันทึกครั้งที่5
วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


นำเสนอผลงาน  "ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"








หนูกระดื๊บกระดื๊


อุปกรณ์

1. กระดาษสี   2. กรรไกร   3. กาว   4. ปากกาเมจิก
วิธีประดิษฐ์
1.          1.   ตัดกระดาษสีเป็นรูปครึ่งวงกลม ตัดส่วนที่แรเงาออก



 2. พับกระดาษตามรอยปะโค้งกระดาษเป็นรูปทรงกรวย  ทากาวที่ปลายขอบกระดาษแล้วติดบนกระดาษด้านล่าง



 3. ตัดกระดาษเป็นรูป ตา หู และหาง ตามต้องการ



 4. ติด ตา หู และหาง ที่ตัดไว้ใช้ปากกาเมจิกตกแต่ง  จมูก และปาก ตามความต้องการ




วิธีเล่น
วาง “ หนูกระดื๊บกระดื๊บ ” ไว้บนพื้นและเป่าฟู่ๆ! หนูจะกระดื๊บ กระดื๊บไปตามแรงเป่า


แมววิ่งแข่ง

อุปกรณ์

1. กระดาษขาวชนิดบางหรือกระดาษสา  2. เปลือกหอยขาดเล็ก 4 อัน หรือกระดาษแข็งพับเป็นกล่องขนาดเล็ก

3. พัด

วิธีทำ
1.             ตัดกระดาษสาตามแบบกล่อง  
พับเป็นกล่องโดยทุกด้านต้องติดกันสนิทไม่มีรู( ทำเป็นตัวแมว )



2.ติดกระดาษแข็งบนกระดาษที่ตัดเป็นเส้นไว้      


3.  ติดขาทั้งสี่ไว้ด้านในของกล่อง


4.ใช้กระดาษส่วนที่เหลือทำส่วนหัวและจมูกของแมว


5.ตกเเต่ง ติดหน้าและหางที่ตัวแมว




 วิธีเล่
      เอาแมวกระดาษที่ทำเสร็จแล้วไปวางที่มุมห้องหรือฉากกั้นห้องแล้วใช้พัดพัดลมใส่มุมห้องหรือฉากกั้นนั้นแมวจะกระโดดขึ้นลงและวิ่งไปข้างหน้า

*หลักการและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์*
เมื่อแรงลมมากระทบกับวัตถุทำให้วัตถุเคลื่อนที่



วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 4
วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

- อาจารย์ถามนักศึกษาว่า นักศึกษาเคยดูหนังหรือไม่?  ได้อะไรจากการดูหนัง? 
    ตอบ  - ได้ความตื่นเต้น  - รู้สึกเศร้า 
             -  ความสนุก          - ข้อที่สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต

- อาจารย์เปิด VDO  เรื่อง  " มหัศจรรย์ขิงนำ้" โดยใช้ตุ๊กตาหมีในการเเสดง 
    ความรู้ที่ได้รับ     - อากาศร้อน เหงื่อก็จะออกมาทางผิวหนังทำให้อ่อนเพลีย ถ้าดื่มนำ้ก็จะชดเชยได้
                               - บนโลกของเรามีนำ้ 90 เปอร์เซ็น
                               - ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย

- การเกิดฝน


กลไกการเกิดฝน  
         การเกิดฝนเป็นขั้นตอนหนึ่งของ วัฏจักรนํ้า (Water cycle) ดังแสดงในรูปที่ 1 เป็นที่
ทราบกันโดยท่ัั่วไปวานํ้าเมื่อได้รับความร้อนก็จะระเหยเปลี่ยนสถานะภาพเป็นนก๊าซที่เรียกว่า
ไอนํ้า ลอยขึ้นสูงบรรยากาศ เมื่อไอนํ้ากระทบกับความเย็นก็จะควบแน่นจับตัวเป็นก้อนเมฆ
และเมื่ออนุภาค ของไอนํ้าจับตัวจนมีขนาดต่างๆ กันในก้อนเมฆ เมื่อมีขนาดใหญ่จนไม่
สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ก็จะตกมาเป็นฝน 






การเปลี่ยนเเปลงสถานะของน้ำ
         วัฏจักรของน้ำ (water cycle) หรือชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า วัฏจักรของอุทกวิทยา (hydrologic cycle) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่าง ของเหลว ของแข็ง และ ก๊าซ ในวัฏจักรของน้ำนี้ น้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะไปกลับ จากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสิ้นสุด ภายในอาณาจักรของน้ำ (hydrosphere) เช่น การเปลี่ยนแปลงระหว่าง ชั้นบรรยากาศ น้ำพื้นผิวดิน ผิวน้ำ น้ำใต้ดิน และ พืช
          
การระเหย
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นก๊าซ โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆได้รับพลังงานหรือความร้อน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนสถานะเป็น ไอน้ำ
การควบแน่น
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากก๊าซ กลายเป็นของเหลว โดยมักเกิดเมื่อก๊าซนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ ไอน้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำ
การระเหิด
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของแข็ง กลายเป็นก๊าซ โดยไม่ผ่านสถานะการเป็นของเหลว ได้แก่ น้ำแข็งแห้ง เปลี่ยนสถานะเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การตกผลึก
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง แต่โดยทั่วไปแล้ว ตกผลึกนั้นนิยมใช้ กับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทางทางเคมี เสียมากกว่า เพราะโดยทั่วไปใช้กับสารประกอบหรือวัตถุ ที่ไม่สามารถหลอมเหลว หรือ ละลาย กลับเป็น

การแข็งตัว

       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง โดยของแข็งนั้น สามารถเปลี่ยนสถานะกลับเป็นของเหลวได้ โดยการได้รับพลังงานหรือความร้อน

การหลอมเหลว หรือการละลาย
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของแข็ง กลายเป็นของเหลว โดยมักเกิดเมื่อของแข็งนั้นๆ ได้รับความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำแข็ง เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำ



งานที่สั่ง

         1. เมื่อได้หน่วยการเรียนรู้จากโรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม  แล้วให้ทำเป็น 

Mind Map  ว่าเราจะสอนอะไร   สิ่งที่จะต้องมีคือ  ภาพ  การทดลอง  และยกตัวอย่าง (งานกลุ่ม)
         2. ทำสื่อวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถเล่นเองได้ในมุมประสบการณ์ (จับคู่ 2 คน)

- อุปกรณ์จะต้องเป็นเศษวัสดุเหลือใช้  - ถ่ายรูปเป็นขั้นตอน
          3. หาวิธีการทำของเล่นวิทยาศาสตร์มา 1 อย่าง   เพื่อที่จะนำมาสอนเด็ก (จับคู่ 2 คน)